เรื่องต้องรู้ เมื่อหนี้สาธารณะเพิ่มเพดานเป็น 70%
การบริหารจัดการวิกฤตโควิด-19 อยู่ในพื้นที่สื่อมานานนับปี ทั้งเรื่องของการดูแลผู้ป่วย การจัดหาวัคซีน การเยียวยา รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ล้วนเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องใช้งบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชนคนไทยอย่างเราทุกคน
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวการขยายเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% เป็น 70% ของ GDP เพื่อให้สอดคล้องกับการกู้เงินจาก พ.ร.ก. กู้เงินช่วยโควิด 1 ล้านล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
เมื่อย้อนดูสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของประเทศไทย รายงาน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 แจ้งว่ามียอดหนี้จำนวน 8,909,063 ล้านบาท หรือ 55.59% ของ GDP เพิ่มจากสิ้นปี 2563 ที่ประมาณ 52.1% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจาก GDP ที่หดตัวลง ประกอบกับรัฐบาลต้องกู้ยืมเงินเพื่อมาพยุงเศรษฐกิจที่โดนผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และซบเซามานานนับปี
คำถามสำคัญที่คนไทยอยากรู้คือ การปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางการคลังได้จริงหรือ การจัดสรรงบประมาณที่ผ่านมาตรงเป้าแค่ไหน คนไทยจะเป็นหนี้เพิ่มกันทุกคนหรือไม่ ศักยภาพของประเทศไทยตอนนี้อยู่ในระดับใด และจะแบกรับภาวะเช่นนี้ไปได้นานแค่ไหน มีอะไรที่ต้องจับตา
THE STANDARD NOW ชวนพูดคุยกับสองผู้เชี่ยวชาญด้านงบประมาณ ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษานโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ พร้อมด้วย ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฝ่ายนโยบาย พรรคก้าวไกล
Create your
podcast in
minutes
It is Free