Q: การพิจารณาอัปปัญญาพรหมวิหาร และทิศทั้ง 6 เป็นการบ่มอินทรีย์ใช่หรือไม่
A: พรมวิหาร 4 เป็นธรรมะที่คุ้มครองโลกมีอยู่แล้ว อัปปัญญา คือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าเติมลงไปเพื่อใช้เป็นบาทฐานในการเข้านิพพาน ในทิศทั้ง 6 คือ การได้รับคนรอบข้างมาดูแล ทั้งสองอย่างนี้อยู่ในมรรค 8 เมื่อทำแล้วก็เป็นการบ่มอินทรีย์ การบ่มอินทรีย์ให้สุกนั้นจะพัฒนาไปได้เมื่อมีผัสสะ ผัสสะมาแล้วยังอยู่ในมรรคได้นั่น คือ รักษาจิตได้ ทำให้อินทรีย์แก่กล้าขึ้นจนบรรลุธรรมในที่สุด
Q: ความสว่างไสวของจิตเกิดจากการแผ่จิตใช่หรือไม่ และแผ่เมตตาอย่างไรให้ได้ดี
A: ความสว่างไสวเป็นเรื่องของสมาธิเป็นกระแสของความดี สมาธิและการแผ่เมตตาเกื้อหนุนกันให้แต่ละอย่างมีกำลังมากขึ้น การแผ่เมตตาและสมาธิควรทำให้มีได้ตลอดเวลา
Q: โยนิโสมนสิการ คือ การคิด วิปัสสนา คือ การไม่คิด ใช่หรือไม่ต่างกันอย่างไร
A: คือการคิดเหมือนกันแต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน วิปัสสนาใช้คู่กับสมถะใช้ในทางที่ถูกให้เห็นตามจริง โยนิโสมนสิการ คือ ใคร่ครวญมาในอริยสัจ 4 คิดก็คือพิจารณาแต่ไม่ใช่สัญญา และต้องคิดด้วยจิตที่เป็นอารมณ์อันเดียว ไม่เช่นนั้นจะฟุ้งซ่าน
Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าจิตนั้นขั้นไหน นิมิตนั้นจริงหรือปรุงแต่ง
A: ถ้ายังไม่มีความชำนาญในแต่ละระดับของสมาธิจะไม่สามารถรู้ได้ ต้องทำให้ชำนาญใช้ระยะเวลา
Q: ฉันทะกับตัณหาต่างกันอย่างไร ฉันทะสร้างได้อย่างไร
A: ความหมายเดียวกันแต่ใช้ในบริบทที่ต่างกัน ตัณหาความทะยานอยากใช้ในทางที่ไม่ดีอย่างเดียว ฉันทะความพอใจใช้ทั้งสองแบบ มีความต่างกันตรงที่ ถ้าทำแล้วความทุกข์เพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นความฉลาดของพระพุทธเจ้าที่กำหนดให้ต่างออกไปเพื่อไม่ให้สับสน ฉันทะที่ตั้งไว้ในมรรคจะทำให้ความทุกข์ลดลง ฉันทะนั้นเริ่มสร้างมาจากศรัทธา พอมีฉันทะจะมีความทำจริง ดำรงอยู่ในธรรม แล้วจะเห็นสัจจะได้ เราเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ
Q: การทำสมาธิแบบนิ่งไม่คิดให้ได้นานทำอย่างไร
A: ฝึกมาตามลำดับขั้นผลจะตามมา อย่าไปตามความอยากจะผิดพลาดได้ วัดความสำเร็จ ณ ตอนนี้ ต้องมีระเบียบวินัยมีความยินดีในการนั่งสมาธิ
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free