"ไม่พักไม่เพียรข้ามห้วงโอฆะได้" คือ ทางสายกลาง หรือที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" เป็นทางที่ไม่แล่นดิ่งไปสุดโต่งสองด้าน ที่ไม่ใช่ทั้งประกอบชุ่มอยู่ด้วยกามหรือทรมานตนเองให้ลำบาก ไม่ใช่ทั้งความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ เป็นอัตถิตา ยึดถือในตัวตน หรือความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่ เป็นนัตถิตา คือปฏิเสธทุกอย่าง แต่เป็นทางสายกลางคือ อนัตตา ไม่ติดทั้งตัณหาหรือไม่ติดกับทิฏฐิ ไม่ใช่ทั้งกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) หรือการปรุงแต่งสังขารทั้งหลาย และไม่ใช่ทั้งสุขหรือทุกข์ แต่เป็นทางสายกลางคือ เหนือสุขเหนือทุกข์
อย่างไรก็ตาม หากเราต้องการให้ถึงความหลุดพ้นที่สุดแห่งกองทุกข์ในสังสารวัฏนี้ได้ ต้องปฏิบัติตนตามอริยมรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกับการสร้างถนน ที่มีวิธีการทำเหมือนเดิม แต่ในขณะที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปตามระยะทาง ดังนั้น จึงต้องทำซ้ำทำย้ำ และทำอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะไม่ผิดศีลหรือสามารถทำสมาธิให้มีความละเอียดมากขึ้น ๆ ตามลำดับขั้น ทั้งนี้ต้องไม่ตึงเกินไปเพราะจะทำให้ฟุ้งซ่าน หรือไม่หย่อนไปเพราะจะทำให้เกียจคร้าน
การปรารภความเพียร ถือเป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์ 8 ข้อ "สัมมาวายามะ" ที่เมื่อปรารภมากแล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมีความพอดีด้วยการปรับอินทรีย์ทั้ง 5 ให้เหมาะสมเสมอ ๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น หากเพียรจนตึงไป ควรให้ปรับเพิ่มในส่วนที่เป็นสมาธิ แต่หากหย่อนไป ก็ควรปรับเพิ่มในส่วนที่เป็นปัญญา มาพิจารณาเห็นถึงความไม่เที่ยงหรือพิจารณาอสุภะ
แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E18 , ตามใจท่าน S10E28 , S10E08 , #โทษของความเลื่อมใส
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free