"เรารู้ตัวเราเองดีว่ามีจุดอ่อนที่ใด มีปัญหาที่ไหนให้แก้ที่จุดนั้น เราต้องแก้ไขได้แน่นอนด้วยกำลังของตนเอง ด้วยความเพียรของตนเอง เพื่อสร้างอุปนิสัยใหม่ที่จะให้เราดำเนินมาอยู่ในทางอริยมรรคมีองค์แปดอย่างเป็นปกติได้"…ในช่วงระหว่างเข้าพรรษานี้ขอชักชวนให้ปรารภความเพียรละบาปอกุศล เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้นให้เจริญขึ้น อย่าเห็นแก่ความสบายหรือความลำบาก แต่ให้เห็นแก่กุศลธรรมที่จะเกิดขึ้น
Q1: "อายตนะภายในและภายนอกที่แยกจากกัน แต่จะถูกยึดโยงด้วยความรักใคร่พอใจ" การที่จะละความรักใคร่พอใจออกได้ คือ การรักษาอินทรีย์ใช่หรือไม่?
อ้างอิงจาก โกฏฐิกสูตร…พระสารีบุตรอุปมาโคดำและโคขาวที่ถูกผูกอยู่ด้วยเชือกเส้นเดียวกันเปรียบกับความรักใคร่พอใจอันเป็นเครื่องเกี่ยวเกาะของอายตยะ เมื่อตัดเชือกแล้วตัวหนึ่งก็ไปทางหนึ่ง อีกตัวก็ไปอีกทางหนึ่ง มันก็แยกกันไป
การรักษาอินทรีย์ เป็นเพียง 1 จาก 6 วิธีที่จะป้องกันไม่ให้อายตนะภายในและอายตนะภายนอกซึ่งเป็นของที่เกาะเกี่ยวกันด้วยความรักใคร่พอใจนั้นมันเชื่อมโยงสืบต่อเนื่องกันไป คือ 1) เราต้องตั้งสติเอาไว้ตรงผัสสะที่จะเกิดขึ้นเหมือนกับนายทวารที่ฉลาด คือ การสำรวมสังวรในอินทรีย์ทั้งหก, 2) การพิจารณาแล้วจึงบริโภค (เสพ), 3) การอดทน อดกลั้น, 4) การงดเว้น, 5) การบรรเทา (ละ), 6) การภาวนา และทั้ง 6 วิธีนี้สามารถใช้ได้กับทุกอย่าง
Q2: ในเรื่องของ "เพื่อน"
จากพุทธพจน์ที่ว่า "อย่าเห็นแก่สั้น อย่าเห็นแก่ยาว เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร" ซึ่งคำว่า "อย่าเห็นแก่สั้น" หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก…บางทีเพื่อนที่คบกันมานานก็เกิดความประมาทไป ถ้าเราพอจะช่วยรักษาเขาผู้ที่ประมาทได้ หรือเราพอจะมิตรที่เป็นผู้อุปการะได้ ก็ช่วยกันไปเพราะว่าโลกมันก็เป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเผื่อว่าช่วยไม่ได้ก็ให้แยกกันไปอย่าไปคบหาสมาคมด้วย
…ไม่ใช่ว่าจะไปโทษคนอื่นว่าเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ฉันควรจะปล่อยวางอย่างนั้นอย่างนี้ ประเด็นสำคัญ มันอยู่ที่ว่าเราวางได้หรือไม่ ต้องสติไว้ให้ดี มีสติอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้จิตใจคิดนึกไปในทางกาม แต่ให้มีการฟังธรรมอยู่เนื่องนิตย์ ให้เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจัง เห็นว่าไม่ใช่ตน จะค่อยทำให้จิตของเราเบื่อหน่ายคลายกำหนัดปล่อยวางอย่างแท้จริงได้ตามลำดับขั้น
Q3: คำถามจาก "นฬกลาปิยสูตร"
ใน นฬกลาปิยสูตร …พระสารีบุตรยกอุปมากำไม้ออ 2 กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกัน ถ้าดึงอีกกำหนึ่งออก อีกกำหนึ่งก็ล้มไป มาอธิบายอย่างแยบคายในเรื่องของปัจจัยให้มีชราและมรณะ
สามารถทำความเข้าใจได้ด้วยการเขียนเป็นสามเหลี่ยม โดยมุมหนึ่งเป็นนามรูป มุมหนึ่งเป็นวิญญาณ และอีกมุมหนึ่งเป็นสังขาร การที่มันทรงตั้งอยู่ได้คืออวิชชา สังขารในที่นี้หมายถึง "กรรม" เพราะสังขารนั้นคือการกระทำ (กรรม) ทางกาย วาจา และใจ, ไฟคือกรรม คือไออุ่น นั่นเองไฟจึงรักษานามรูปให้ปรุงแต่งออกมาในลักษณะที่เป็นอายตนะทำให้วิญญาณต้องอาศัยกันอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับปฏิจจสมุปบาท
Q4: คำถามในเรื่อง "จิตสุดท้าย"
อ้างอิงจาก มหากัมมวิภังคสูตร …เพราะแม้บุคคลบางคนจะทำความดีมาโดยตลอด แต่จิตสุดท้ายมีมิจฉาทิฐิ (อันเป็นอกุศล) ผู้นั้นก็ไปอบายได้ หรือแม้บุคคลบางคนจะทำความชั่วมาตลอด แต่จิตสุดท้ายนั้นเกิดมีสัมมาทิฐิ (อันเป็นกุศล) ผู้นั้นก็ไปสุคติได้
หลักการณ์ไม่ได้อยู่ที่ความน่าจะเป็นหรือความเสี่ยงว่าจะมีมากหรือน้อย แต่ต้องอย่าประมาท ความชั่วแม้เพียงเล็กน้อยก็อย่ากระทำ ในขณะเดียวกันความดีต่อให้เพียงเล็กน้อยหรือมาก มันดีในตัวมันเอง ให้พึงกระทำ
Q5: คำถามในเรื่องเรื่องของ "กฐิน"
อ้างอิงจาก กฐินานุชานนา ว่าด้วยทรงอนุญาตให้กรานกฐิน เรื่องภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ 30 รูป เรื่องราวที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้วกรานกฐินได้ และภิกษุผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ 5 อย่าง, เรื่องวิธีกรานกฐินและญัตติทุติยกรรมวาจาสำหรับกรานกฐิน, กฐินไม่เป็นอันกราน และ กฐินเป็นอันกราน ทั้งนี้ทรงอนุญาตกรานกฐินแก่ภิกษุผู้จำพรรษาแล้ว ก็เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีในหมู่คณะ
และในปัจจุบัน ภิกษุผู้กรานกฐิน จะต้องประกอบด้วย องค์กำหนด 3 ประการ คือ เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด, อยู่ในอาวาสเดียวกัน และภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป ทั้งนี้เพราะจะต้องเป็นผู้รับผ้ากฐินเสียรูปหนึ่ง ที่เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นจำนวนสงฆ์
แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต Ep.16, Ep.14 ใต้ร่มโพธิบท Ep.51, Ep.57, คลังพระสูตร Ep.53, Ep.51, ขุดเพชรในพระไตรปิฎก Ep.28
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free