พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบกิเลสว่าคือ “มารผู้ล้างผลาญความดี” ทำให้ความดีของเราไปต่อไม่ได้ เพราะฉะนั้นให้มีความมั่นใจลงใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะสามารถก้าวต่อไปทำความดีต่อไปได้เพราะเหตุใดเราต้องพิจารณาความไม่เที่ยง ให้เห็นว่าไม่เป็นเรา – ของเรา แล้วการพิจารณาแบบนี้มีความเกี่ยวโยง กันอย่างไร แล้วต้องพิจารณาแยกแยะจนไปสุดที่ตรงไหน?อนัตตา คือ คุณสมบัติของสิ่งต่างิๆ ที่ต้องอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น โดยไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันเอง มันจึงมีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ ฉะนั้นเราไม่ควรยึดถือว่าเป็นตัวเราของเราพระพุทธเจ้าตรัสว่า ความอยากเป็นทุกข์ เพราะมีความอยากเป็นการยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา การมีตัวเราของเราก็เพราะอุปาทาน … ซึ่งอุปทานเกิดในขันธ์ 5 เท่านั้นจิตที่มีราคะ โทสะ โมหะ คือ อาการที่ขันธ์ 5 เขากระทำต่อกันเรียบร้อยแล้ว ผลออกมาเป็นราคะ โทสะ โมหะใช่หรือไม่ ? แล้วขันธ์แต่ละตัวมีราคะ โทสะ โมหะได้หรือไม่?จิตที่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย หมายถึงจิตที่ปล่อยวางจากอุปทานขันธ์ทั้ง 5 ใช่หรือไม่?
พระพุทธเจ้าบอกว่า ความอยากเป็นเหตุของความทุกข์ เพราะพอมีความอยากจึงมีความยึดถือว่านี่เป็นตัวเราของเรา ความที่ว่าเป็นตัวเราของเรา เป็นผลของความยึดถือคืออุปาทาน ที่มีเหตุมาจากตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทาน จึงมีความรู้สึกเป็นตัวเราของเราขึ้นมา นั่นคือ สภาวะที่เป็นภพ “เอตังมะมะ เอโสหะมัสมิ เอโสเมอัตตา” ที่เรารู้สึกว่า นี่คือกายของเรา เพราะเรามีความยึดถือเข้าไปแล้ว” แต่ความรู้สึกในกายเป็นคนละแบบ
เหล่าพระอรหันต์จะเห็นกายโดยความที่เป็นอนัตตา โดยความที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย โดยความที่ไม่มีความยึดถือ ขยับเขยื้อนตามนั้น รับรู้ได้ธรรมดา เป็นสมมุติโลก
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free