Q: ทานในอนุปุพพิกถาเป็นทานประเภทไหน?
A: อามิสทาน/เป็นลักษณะการสละออก ทานโดยใช้สิ่งของภายนอก ทั้งนี้ เราทำอะไรทางกาย ก็มีผลทางใจด้วย เพราะกาย วาจา ใจ มันเกี่ยวเนื่องกัน เราสละสิ่งที่เป็นอามิส กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ก็จะลดลงด้วย
Q: อภัยทานกับอโหสิกรรม เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
A: ในความหมายของภาษาไทยนั้นนำมาใช้แทนกันได้ โดย อโหสิกรรม จะมีอุเบกขา นำ เน้นมาในทางไม่ผูกเวรต่อ อภัยทานมีเมตตากรุณานำ โดยทั้ง 2 อย่างนั้น สำคัญที่ใจต้องไม่ผูกโกรธ
Q: บุญที่เกิดจากอภัยทานกับธรรมทาน เหมือนหรือต่างจากบุญที่เกิดจากอามิสทานอย่างไร?
A: การให้ทานล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น จะเหมือนหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้สิ่งไหน อยู่ที่ผู้ทำและผู้รับด้วย
Q: อดทนต่อคำด่า ไม่โต้ตอบแล้วทำให้คนที่ด่า โกรธมากขึ้น จะเป็นการเพิ่มอกุศลกรรมให้กับคนที่ด่าหรือไม่/ควรทำอย่างไร?
A: สิ่งที่ควรทำ คือ อดทน ไม่โต้ตอบ ทำด้วยเจตนาที่ดี/คนไม่ดี พอเห็นความดีแล้วไม่พอใจ ก็เป็นธรรมดา ด้วยอำนาจโมหะเขาจึงโกรธมากขึ้น จะสุขหรือทุกข์เป็นผลที่เกิดจากโมหะของเขาเอง
Q: ลักษณะของวาจาด่าทอว่าร้าย 5 คู่
A: 1. ว่าด้วยเรื่องที่จริง-ไม่จริง 2. เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์ 3. คำอ่อนหวาน-คำหยาบคาย 4. จิตมีโทสะ-จิตมีเมตตา 5. ถูกเวลา-ไม่ถูกเวลา
Q: เพราะอยากดังจึงกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่าเป็นเรื่องไม่จริง บาปมากน้อยอย่างไร?
A: เขาจะพูดอย่างไร เป็นเรื่องของเขา แต่เราต้องรักษาตนเอง โดย ให้มีเมตตา กรุณา อุเบกขา ให้เขามากขึ้น
Q: อุปกิเลส 16 ประการ
A: ตามนัยยะของ อุปมาว่าด้วยผ้า ”วัตถูปมสูตร” จิตจะมีเครื่องเศร้าหมอง 16 อย่าง คือ 1. โลภ เพ่งเล็งอยากได้ 2. พยาบาท 3. โกรธ 4. ผูกโกรธ 5. ลบหลู่คุณท่าน 6. ตีเสมอ 7. ริษยา 8. ตระหนี่ 9. มารยา 10.โอ้อวด 11. หัวดื้อ 12. แข่งดี 13. มานะ 14. ดูหมิ่น 15. มัวเมา 16.ประมาท
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free