Q: การด่าออกไปกับด่าในใจ ผิดศีลหรือไม่?
A: อยู่ที่ว่าเรานับสัมมาวาจา อีก 3 ข้อ (ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ) เข้ามาเป็นศีลด้วยหรือไม่ ให้เราฝึกยิ่งๆ ขึ้นไป จะเกิดการพัฒนา รักษา กาย วาจา ใจ เรา ปฏิบัติให้ละเอียดขึ้นไปได้ยิ่งดี
Q: จากนิทานพรรณา "ผู้รู้เสียงสัตว์" ถ้าไม่มีญาณวิเศษนี้ เราจะดำรงตนในธรรมได้อย่างไร?
A: วิธีที่จะพ้นทุกข์ได้จริงและปลอดภัยจากภัยใน ”วัฏฏะ” ได้ ต้อง “อาสวักขยญาณ” เท่านั้น คือ ญาณในการรู้อริยสัจสี่
Q: การละวาง การปล่อยวางและการวางเฉย มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
A: ละวาง ในที่นี้ หมายถึง ละ(ปหานะ) คือกำจัดทิ้งเสีย ใช้กับตัณหา สิ่งที่เป็นอกุศลเท่านั้น ปล่อยวาง คือ การวิราคะ วิมุตติ พ้น ซึ่งจะเป็นส่วนของมรรค 8 ใช้ตามสายของมรรค ใช้กับขันธ์5 คือปล่อยวางขันธ์ 5 วางเฉย (อุเบกขา)
Q: ชวนจิต มีความสัมพันธ์กับการทำสมาธิและวิปัสสนาอย่างไร ทำไมต้องมี 7 ขณะ?
A: เป็นเรื่องของอภิธรรม
Q: ควรจะแก้ปัญหาน้องชายที่ติดยาอย่างไร?
A: 1. ให้เรามีพรหมวิหารสี่ 2. หาช่องแนะนำให้เกิดประโยชน์ทั้งเราและเขา 3. ระมัดระวังความคิด อย่าเอา ”ความอยาก” เป็นตัวนำ ว่าอยากให้เขาเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ จิตใจเราให้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปรารถนาดีต่อกัน ใช้วิธีการให้ถูก ตั้งอยู่ในแดนกุศล
Q: หากต้องนอนบนเตียงนานๆ เหมือนผู้ป่วยติดเตียง ควรนำธรรมะข้อใดมาปฏิบัติจึงจะผ่านพ้นไปได้?
A: สำหรับผู้ที่เตรียมตัวมา ก็จะอยู่ด้วยความผาสุกได้ คือ จิตสงบ มีเครื่องอยู่ หากไม่ได้เตรียมตัว ก็จะไม่ผาสุก วุ่นวายใจ รับไม่ได้ เมื่อรับไม่ได้ ก็เกิดทุกข์ ให้เข้าใจทุกข์ เห็นทุกข์ ได้ด้วยปัญญาตามมรรค 8 อยู่กับมันได้ทุกข์ก็ลดลง
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free