Q: โจทก์ภิกษุด้วยอาบัติปาราชิกในการอวดอุตริมนุสธรรม
A: อุตริมนุสธรรม คือ ธรรมะที่เหนือกว่าของมนุษย์ ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน อันนี้เป็นปาราชิก เว้นไว้แต่เข้าใจผิด (เข้าใจว่าได้บรรลุ) ไม่ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิก
Q: เมื่อถูกหลอกเอาทรัพย์ เราควรวางจิตอย่างไร?
A: เราไม่ควรเคียดแค้น ผูกเวร เพราะจิตใจเราจะไม่ดี จะอยู่ไม่เป็นสุข จะเศร้าหมอง จิตใจเราให้มีเมตตา กรุณา อุเบกขา ส่วนทรัพย์จะตาม หรือจะปล่อยทิ้งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป
Q: นั่งสมาธิแล้วจิตกระเพื่อม ส่ายไปมาขวาซ้ายๆ ควรแก้อย่างไร?
A: พิจารณาทางกาย หากกายไม่สบายให้ไปพบแพทย์เพื่อรักษา หากไม่ใช่ ก็เป็นเรื่องของจิต คือ การปรุงแต่งของจิตยังไม่ระงับ ให้ตั้งสติไว้กับลม อย่าตามการปรุงแต่งของจิตนั้นไป พอจิตจดจ่ออยู่กับลม ก็จะไม่จดจ่อไปกับการปรุงแต่งของจิต พอจิตไม่ได้ตริตรึกไปเรื่องใด มันก็ไม่น้อมไปเรื่องนั้น มันก็จะอ่อนกำลัง การปรุงแต่งของจิตก็จะระงับ
Q: ข้อปฏิบัติอะไรที่จะทำให้สติของเรามีกำลังเพิ่มขึ้น?
A: ท่านอธิบายเรื่องศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ข้อปฏิบัติทางกาย วาจา เพิ่มเติม จากศีล 5 ข้อ เรียกว่า “ศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ” คือ การรู้ประมาณในการบริโภค การสำรวมอินทรีย์ การอดทนรับฟังการตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น การประกอบด้วยธรรมอันเป็นเครื่องตื่น การอยู่เสนาสนะอันสงัด และการมีกัลยาณมิตร มีครูบาอาจารย์คอยบอก คอยสอน จะเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้สติเราตั้งขึ้น ตั้งมั่น ด้วยดี
Q: ผู้ร่วมทำการสังคายนาพระไตรปิฎกต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหรือ?
A: การสังคายนาครั้งแรก นำโดยท่านพระมหากัสสปะ ท่านได้รวมเอาเฉพาะ พระขีณาสพ (พระอรหันต์) มาทำการสังคายนา / คำว่า “สังคายนา” หมายถึง การสวดขึ้นพร้อมกัน / การทำสังคายนา ก็คือ การสวดคำพูดของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้สอนไว้ สวดขึ้นพร้อมกัน ว่าจดจำได้ถูกต้องตรงกันหรือไม่ แล้วจัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการจดจำ ให้เป็นรูปแบบภาษาที่จะรักษาคำสอน รูปแบบนี้ เรียกว่า “พระไตรปิฎก”
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free