การกระทำเพื่อให้เกิดปัญญา "สติ 5 ขั้นตอน"
การที่จะเกิดปัญญาได้ ต้องมีอินทรีย์ที่แก่กล้า การที่จะมีอินทรีย์แก่กล้าได้ ต้องมีสติ / ลักษณะของสติ 5 ประการ คือ 1. สังเกต 2. แยกแยะ 3. แยกตัว 4. ทางเลือก 5. ระลึกถึง พอแยกแยะแล้วจะทำให้เห็นภาพที่จะปฏิบัติชัดเจนขึ้นและเมื่อสติมีกำลังเพิ่มมากขึ้น จากการฝึกทำ จะทำให้สมาธิเกิดขึ้นได้ และเมื่อจิตระงับลงๆ ไม่เผลอ ไม่เพลิน อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ เต็มขึ้น แก่กล้าขึ้น ปัญญา จะมีกำลังขึ้นมา ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการเห็นจริงตามนั้น / เกิดได้จากความเพียร และศรัทธา) ก็จะเกิดขึ้น แก่กล้าขึ้น และเมื่ออินทรีย์เต็มขึ้น ทั้ง 5 อย่าง จะทำให้สามารถบรรลุธรรมได้เร็ว
Q: ควรจะทำอย่างไรถ้ามีความเชื่อ ความศรัทธาที่ขัดแย้งกับหลักคำสอน?
A: ใช้หลักเหตุและผล คือ “สัมมาทิฐิ” ไตร่ตรองด้วยปัญญา ในการที่จะเชื่อ และศรัทธา โดยศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา ต้องมี “โยนิโสมนสิการ” ท่านจึงให้คิดว่า “ความคิดแบบไหน ความเชื่อแบบไหน ที่เป็นทุกข์ มีโทษตลอดกาลนาน ไม่เป็นประโยชน์ ความคิดแบบไหน ความเชื่อแบบไหน ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ มีสุขตลอดกาลนาน” หากใช้หลักสัมมาทิฐิ เราจะไม่ขัดแย้งเลย
Q: ความดีคืออะไร จับต้องหรือรู้สึกได้หรือไม่?
A: ท่านให้เกณฑ์ความดีไว้ คือ “บุญกิริยาวัตถุ10” เมื่อทำแล้วเราจะรู้สึกได้ หากเราใช้คำว่ากุศล หรืออกุศลจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น
Q: “ตัณหา” และ “ฉันทะ” ต่างกันอย่างไร?
A: ตัณหา หมายถึง ความทะยานอยาก / ฉันทะ คือ ความพอใจ ฉันทะที่ดี ใช้ในส่วนของมรรคในเรื่องของ อิทธิบาท 4 ฉันทะที่ไม่ดี จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือ จะทำให้จิตของเราไปยึดถือ จึงเป็นทุกข์ / นัยยะที่เหมือนกัน คือ ถ้าเอาฉันทะไปตั้งไว้ในกองทุกข์ ก็จะเหมือนกับตัณหา คือ จะอยู่ในส่วนของสมุทัย / นัยยะที่ต่างกัน คือ ฉันทะ หากใช้กับอิทธิบาท 4 จะเป็นฉันทะในส่วนที่ดี
Q: หลักคำสอนเรื่อง "ความสันโดษ" จะทำให้คนขี้เกียจ จริงหรือไม่?
A: “ความสันโดษ” มาจาก คำว่า “สันตุฏฐี” คือ ยินดีตามมีตามได้ สันโดษจะทำให้จิตของเรา ไม่เกียจคร้าน ตรงข้ามกันกับ “ขี้เกียจ” คือ ขี้เกียจจะไม่ทำอะไรเลย เกียจคร้าน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free