Q: อริยทรัพย์ที่ได้จากการฟังธรรม
A: เมื่อเราฟังธรรม แล้วเกิดศรัทธา นำไปทำ นำไปปฏิบัติ เป็นวิริยะ คือ ความเพียร มีสติ เป็นสมาธิขึ้นมาและเกิดปัญญาตามต่อมา ปัญญาในที่นี้ คือ ปัญญาที่จะปล่อยวางความยึดถือ
Q: เป็นทุกข์เพราะมีหนี้สินรุงรัง จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
A: ท่านเคยสอนไว้ใน “สมชีวิตา” (การแบ่งจ่ายทรัพย์) “รายรับต้องท่วมรายจ่าย รายจ่ายต้องน้อยกว่ารายรับ” ให้เราเป็นผู้ขยันขันแข็ง ไม่เกี่ยงงาน รู้จักรักษาทรัพย์ ไม่เล่นการพนัน ไม่เล่นหวย ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข หากเรามีคุณธรรมเหล่านี้ ไม่ได้แค่ปลดหนี้ได้แต่จะทำให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีได้ด้วย
Q: รู้สึกเบื่อโลก เบื่อหน่ายทุกอย่างในชีวิต ควรวางจิตอย่างไร?
A: “เบื่อเซ็ง” เป็น ลักษณะของโมหะและโทสะ เป็นนิวรณ์เครื่องกางกั้น ทำปัญญาให้ถอยกำลัง ตัวมันจะทำให้เกิดความเร่าร้อน บางทีซึมเศร้า เป็นลักษณะของโทสะและโมหะ เหตุเกิดจาก เรื่องของกรรม ผัสสะ กิเลส ในขณะที่ “เบื่อหน่าย” มาจากคำว่า นิพพิทา (ความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด) เป็นลักษณะของปัญญา เหตุเกิดจาก การเห็นไปตามความเป็นจริง เมื่อเห็นไปตามความจริงบ่อย ๆ จะเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนดในสิ่งนั้น ผลคือจะทำให้เกิดความปล่อยวาง ไม่ยึดถือสิ่งอื่นๆ อีกต่อไป จะเบา / เราจะกำจัดความเบื่อเซ็งได้ด้วย “สติสัมปชัญญะ” ให้เราตั้งจิตไว้ให้ดี กำจัดอารมณ์นั้นโดยการนึกถึงเรื่องอื่น ในทางคำสอน ท่านให้ตั้งอยู่ในอนุสติ10 เมื่อจิตเราไม่คล้อยเคลื่อนไปในอารมณ์นั้น สิ่งนั้นก็จะอ่อนกำลัง จิตเราก็จะเริ่มระงับลง ๆ เพิ่มสมาธิเข้าไป เห็นความไม่เที่ยง เกิดปัญญา เห็นซ้ำบ่อย ๆ นิพพิทาจะเกิด นี่เป็นกระบวนการที่เราเปลี่ยนจากเบื่อเซ็งเป็นเบื่อหน่าย ด้วยการเพิ่มปัญญา, สมาธิและสติ เข้าไป เป็นลำดับขั้น ๆ นั่นเอง
Q: เกณฑ์ในการพิจารณาเลือกคู่ครองที่ดี
A: เครื่องหมายของคนดี ให้ดูที่การกระทำทางกาย วาจา ใจ ว่าอยู่ในฝั่งกุศล อีกนัยยะหนึ่ง คือ ดูที่ศีล, ศรัทธา (ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า), จาคะ (การให้การบริจาค) และปัญญา (ปัญญาที่จะปล่อยวางความยึดถือ) คือ ศีลต้องเสมอกับเรา
Q: การทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด?
A : กรณีที่เราไม่ยอมรับผิด เพราะไม่รู้ว่าตัวเองผิดอะไร เลยไม่ได้ยอมรับผิด นี่คือไม่มีปัญญาเพราะโมหะมันมาก อวิชชามาก เพราฉะนั้น เราจึงต้องมาศึกษาคำสอน ฟังธรรมะ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดปัญญาและเกิดการยอมรับ เช่น เรื่องทุกข์ใน “อริยสัจ 4” ความผิดพลาดในที่นี้ เราใช้ศัพท์คำว่าทุกข์มาแทน เราต้องกำหนดรู้ในทุกข์ ต้องรู้ว่าเรามีปัญหา ยอมรับว่าทุกข์คือปัญหา คือความผิดพลาดในชีวิตเรา เช่นนี้คือเรามีปัญญาแล้ว พอเรารู้ว่าเรามีปัญหาอะไร เรารอบรู้เรื่องทุกข์ ยอมรับเรื่องทุกข์ เราจะอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ อยู่กับปัญหาได้โดยไม่เป็นปัญหา อีกกรณีหนึ่ง รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่ไม่ยอมรับ แบบนี้คือไม่มีหิริโอตัปปะ เราก็ต้องแก้ตรงให้มีหิริโอตัปปะ ต้องมีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป
Q: ใช้แอปแต่งรูปโพสต์ลงโซเชียล เป็นการมุสาหรือไม่?
A: สำคัญที่เจตนา ว่าการที่เราตัดแต่งรูป เรามีเจตนาให้คนอื่นเข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นหรือไม่
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free