Q : สุขอย่างไรไม่ประมาท
A : เวลาที่เรามีความสุขความสำเร็จ เราไม่ควรประมาท เพราะจะมีอาสวะบางเหล่า ที่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุณมีชื่อเสียง มีลาภยศสักการะ หากเราเพลินเราพอใจไปในความสุขความสำเร็จ จะเกิด “อกุศล” / ถ้าเรามี “สุขเวทนา” แล้วเรายินดีพอใจ เพลิดเพลิน ลุ่มหลง นี่เป็น “อกุศล” คือเราประมาท ถ้าไม่ประมาท คือ เราจะเห็นด้วยปัญญาตามความจริงว่า “สุข” นี้เป็นของไม่เที่ยง เราก็จะไม่ลุ่มหลง เพลิดเพลิน มัวเมาในสุขที่เกิดขึ้นนั้น พอเราไม่ลุ่มหลง ไม่เพลิดเพลิน ไม่มัวเมา นั่นคือ “กุศลธรรม”
Q : แยกแยะ ดี ไม่ดี, สุข ทุกข์, กุศล อกุศล
A : “สุข” คนมักจะเชื่อมโยงความสุขกับความดี/กุศล และ “ทุกข์” คนมักจะเชื่อมโยงกับ “ความ ไม่ดี/อกุศล” ซึ่งมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป ซึ่งหากเรามี “ทุกขเวทนา” มากระทบแล้วเราสามารถอดทน มีเมตตา พูดดี ๆ กลับไปได้ ทุกขเวทนานั้นกลับทำให้เกิด “กุศล” หากเรามี “สุขเวทนา” มากระทบแล้ว เราเพลินพอใจลุ่มหลงไปในมัน สุขเวทนานั้นจะทำให้เกิด “อกุศล” ได้ และหากเรามีสุขเวทนาแล้วเราเห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า “สุขเวทนา มันเป็นของไม่เที่ยง” เห็นด้วยปัญญา จิตเราก็จะเกิดกุศลได้ อยู่ที่เราตั้งสติ พอเรามีสติ เราก็จะไม่ประมาท จะไม่เพลินไปในทุกข์หรือสุข ตั้งอยู่ในกุศลได้
Q : จุดที่กลับตัวไม่ทันแล้ว (Point of No return)
A : จะเป็นจุดหนึ่งที่เรากลับตัวไม่ทันแล้ว คือทำไปมากจนเลยจุดกลับตัวแล้ว ซึ่งจุดนี้แต่ละคนไม่เท่ากัน เช่น เราประมาททำสิ่งที่เป็นความชั่วอยู่เรื่อย ๆ มันจะแก้ยาก มันจะกลายเป็นผิดพลาด แม้จะทำความชั่วเพียงนิดหน่อยก็จะให้ผลเร็วเพราะมันจะถึงจุดที่ว่ากลับไม่ทันแล้วทำชั่วมามากแล้ว สำหรับในบางคนที่ทำความชั่วแล้วความชั่วให้ผลช้า นั่นเป็นเพราะบุญยังรักษาเขา หากคนที่มีบุญน้อยแล้วมุ่งมั่นทำความดี ความดีก็จะให้ผลเช่นกัน ถ้าความดีที่เราทำยังไม่ให้ผล นั่นก็เป็นเพราะความชั่วให้ผลอยู่ เพราะฉะนั้นเราอย่าประมาท
Q : ทางเลือก
A : คนเราเมื่อมีทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จะมีทางเลือก 2 ทาง คือ 1) ร่ำไห้ คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง พร่ำเพ้อ มีอกุศลกรรมเกิดขึ้น หรือ 2) เขาจะคิดว่าใครหนอที่จะรู้ทางออกจากความทุกข์นี้สักหนึ่งหรือสองวิธี ใครหนอที่จะชี้ทางให้ เป็นกัลยาณมิตรให้ นี่จะเป็นผลของความทุกข์ที่มันจะเกิดขึ้น เป็นกุศลได้
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Create your
podcast in
minutes
It is Free