มองอดีต EP. 13: โรคระบาดสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและพระราชพิธีอาพาธพินาศ
ประวัติศาสตร์การระบาดของโรคที่เกิดขึ้นในอดีตของไทย นอกจากเกิดในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ในช่วงต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว อีกครั้งที่เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่คือสมัยต้นรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ครั้งนั้นเกิดอหิวาตกโรคระบาดไปทั่วพระนคร มีคนเสียชีวิตจำนวนมากถึงขนาดเผาศพไม่ทันและนำศพไปทิ้งที่ป่าช้าเป็นจำนวนมาก ทำให้พระสงฆ์อยู่วัดไม่ได้ต่างหนีไปจำพรรษาที่อื่น แม่น้ำเจ้าพระยาและคลองสาขาเต็มไปด้วยศพลอยเกลื่อน เหตุการณ์นี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 ต้องกำหนดมาตรการควบคุมโรค พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนด้วยพระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง แล้วแห่ไปในขบวนพระราชพิธีรอบพระนคร พระราชพิธีนี้แตกต่างจากการสวดไล่โควิด-19 หรือไม่ มาตรการควบคุมโรคแตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร สมัยนั้นมีการล็อกดาวน์พระนครหรือไม่
Create your
podcast in
minutes
It is Free