ความรู้สึกผิด ความหวัง และบาดแผลในความเงียบของเหยื่อ 6 ตุลา #บันทึก6ตุลา | อ่านให้ฟัง
ในกรณีการสังหารหมู่ 6 ตุลา 2519 เป็นที่ทราบกันดีว่าความกลัวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตต้องทนทุกข์อยู่กับความเงียบ แม้ว่าจะผ่านไปแล้วกว่า 40 ปีหลายครอบครัวก็ยังไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนของตน เพราะพวกเขามองว่ากลุ่มอำนาจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา ยังคงมีอำนาจต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เมื่อคนทำผิดไม่ต้องรับผิด ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจึงต้องถูกลงฑัณฑ์ซ้ำสองให้ก้มหน้ากล้ำกลืนกับความอยุติธรรมต่อไป
ในบรรดาผู้ที่เสียชีวิตฝ่ายประชาชนจำนวน 40 คนนี้ มีหลายคนที่เรายังไม่รู้ว่าเขาคือใครแม้ว่าเราจะเห็นรูปถ่ายของพวกเขาจนชินตา ได้แก่ ชายไทย 3 คนที่อยู่ในเอกสารชันสูตรพลิกศพแต่ไม่ทราบชื่อ ผู้ชายที่ถูกแขวนคอสองคนที่ถ่ายโดยช่างภาพของสำนักข่าวเอพีนายนีล อูเลวิช และหนึ่งในภาพถ่ายนั้นได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี 2520 (คนที่ถูกแขวนคอมีทั้งหมด 5 คน อูเลวิชถ่ายภาพได้ 2 คน) ร่างที่ถูกเผาจนเหลือแต่กระดูกและระบุเพศไม่ได้ 4 คนบนถนนราชดำเนินใกล้กับรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม เราไม่รู้ว่าพวกเขาคือใคร ครอบครัวของเขาอยู่ที่ไหน รับรู้หรือไม่ว่าลูกหลานของตนเสียชีวิตแล้ว หรือยังเฝ้ารอการกลับมาของพวกเขาอยู่อย่างเงียบงัน
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://prachatai.com/journal/2018/10/78975
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน
Create your
podcast in
minutes
It is Free